All posts in Knowledge

Heatmap in QGIS

Heatmap เป็นการวิเคราะห์พื้นที่จากจุดศูนย์กลางหรือฮอตสปอต นิยมนำมาใช้วิเคราะห์จุดอันตรายบนทางพิเศษ, ความหนาแน่นของร้านสะดวกซื้อ และความหนาแน่นของสถาบันการเงิน เป็นต้น จะเห็นผลลัพธ์โดยรวมของข้อมูลในหน่วยตารางกิโลเมตรหรือหน่วยอื่นๆตามการวิเคราะห์ สามารถนำผลวิเคราะห์นี้ไปประยุกต์ใช้ได้กับลูกค้าที่ประกอบธุรกิจที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ร้านสะดวกซื้อ, สถาบันการเงิน, บริษัทโฆษณาทำการตลาด, อสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆ

วิธีการ

1.  เปิดชั้นข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์

M42-H

2.  จากนั้นคลิกขวา properties > Symbology > Heatmap ตั้งค่าดังรูปแล้วคลิก OK

M43-H

ผลลัพธ์ที่ได้

M44-H

3.  จากนั้นคลิก Processing > Toolbox > Heatmap (Kernel Density Estimation) ตั้งค่าดังรูปแล้วคลิก Run in Background

M45-H

ผลลัพธ์ที่ได้

M46-H

4.  จากนั้นคลิกขวาที่ชั้นข้อมูลชื่อ Heatmap ตั้งค่าดังรูป โดยที่ Mode ให้กำหนดเป็น Equal Interval จากนั้นคลิก OK

M47-H

ผลลัพธ์ที่ได้

M48-H

5.  คลิก Raster > Raster Calculator กำหนดค่าดังรูปจากนั้นคลิก OK

M49-H

ผลลัพธ์ที่ได้

M50-H

6. เลือก Raster > Conversion > Polygonize

M51-H

ปรากฏหน้าต่างขึ้นมาตั้งค่าดังรูปจากนั้นคลิก Run in Background

M52-H

M53-H

7.  คลิกขวาที่ Vectorized > Select features using an expression

M54-H

กำหนดดังรูปแล้วคลิก Select features

M55-H

8.  กด Delete คอลัมน์ที่เลือกออกไป

M56-H

9.  แสดงผลลัพธ์ที่ได้

M57-H

Cr. Mintra Rodchan (นิสิตฝึกงาน ม.นเรศวร)

 

 

 

 

 

Georeferencing Topo Scanned Maps in QGIS

Georeferencing คือกระบวนการกำหนดพิกัดโลกแห่งความเป็นจริงให้กับแต่ละพิกเซลของแรสเตอร์ หลายครั้งที่พิกัดเหล่านี้ได้จากการทำแบบสำรวจภาคสนาม – รวบรวมพิกัดด้วยอุปกรณ์ GPS เพื่อระบุคุณสมบัติที่สามารถระบุได้ง่ายในภาพหรือแผนที่ และในโครงการ GIS ส่วนใหญ่เราต้องใช้ข้อมูลทางเรขาคณิตทางภูมิศาสตร์ ในบางกรณีที่คุณต้องการแปลงเป็นดิจิทัลแผนที่ที่สแกนคุณสามารถหาพิกัดจากเครื่องหมายบนแผนที่ได้ด้วยตัวเอง ใช้พิกัดตัวอย่างหรือ GCPs (Ground Control Points) ภาพบิดเบี้ยวและจัดให้พอดีกับระบบพิกัดที่เลือก เราจะพูดถึงแนวคิดกลยุทธ์และเครื่องมือต่างๆภายใน QGIS เพื่อให้เกิดการทำข้อมูลภูมิศาสตร์ให้มีความถูกต้องและมีความแม่นยำสูง

ในการแก้ไขพิกัดให้มีความถูกต้องนอกจากจะดูว่าเป็นพิกัดแบบไหนแล้ว ให้ดูการฉายแผนที่ในแนบระนาบ ว่าเป็นแบบไหน ประเทศไทยใช้อยู่สองแบบหลักๆ Indian กับ WGS แต่ในปัจจุบัน Indian มีน้อยมาก แต่ถ้าต้องการใช้แผนที่เก่าก็ต้องเจอกับปัญหานี้แน่นอน และบางคนไม่สังเกตจุดนี้จะทำให้แผนที่ที่เราตรึงพิกัดมาเกิดความผิดพลาดได้
1.ภาพแผนที่ TOPO ที่มีความผิดเพี้ยนบนระบบพิกัด EPSG:32647 – WGS 84 / UTM zone 47N

G1

2..เลือกใช้เครื่องมือ Rater >>  Georeferencer >> Georeferencer.. >> คลิกเลือก
G2

3.จะปรากฏหน้าต่างดังรูป

G3

4.จากนั่นเปิดภาพ TOPO ที่ต้องการแก้ไขขึ้นมา >> ใช้เครื่องมือ Add Point >> กำหนดจุดค่าพิกัด X,Y จากพิกัดตัวอย่าง

G4

5.เมื่อกำหนดพิกัดใหม่เรียบร้อยแล้ว >>Transformation Settings >> เลือกที่เก็บ >> กด OK >> กด Run

G5

6.จะได้ภาพที่มีพิกัดถูกต้องที่สามารถทำประโยชน์ต่างๆได้

G6Cr. Sasithon Chatsudarat (นิสิตฝึกงาน ม.นเรศวร)

วิธีการ Download พื้นที่คงสภาพป่าแบ่งตามพื้นที่อนุรักษ์

พื้นที่คงสภาพป่าแบ่งตามพื้นที่อนุรักษ์ คือ ป่าที่รัฐได้กำหนดไว้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อันได้แก่ ดิน น้ำ ป่าไม้ พันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ การใช้เทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อช่วยในด้านการจัดการป้องกันการบุกรุก และติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ โดยมีวิธีการ Download ดังนี้

1. สามารถเข้าไป Download ได้ที่ Website  http://www2.dnp.go.th/gis/

M38-fr

2. คลิก Download พื้นที่ป่าอนุรักษณ์ของแต่ละจังหวัด

M39-fr

3. เมื่อได้ file ที่ทำการ Download แล้วสามารถนำไปเปิดกับโปรแกรม QGIS ได้เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ด้านต่างๆ

M40-fr

ตัวอย่างการวิเคราะห์เพื่อดูขนาดพื้นที่ของป่าไม้โดยสีเข้มจะมีขนาดพื้นที่ที่ใหญ่ ดังรูป

M41-fr

Cr. Mintra Rodchan (นิสิตฝึกงาน ม.นเรศวร)

การติดตั้ง Plugins QuickMapServices

หากเราต้องการทำงานใน QGIS ทุกวันนี้จะสะดวกสบายขึ้น หากเราสามารถใช้ข้อมูลพื้นฐานของเราได้ ซึ่งในอดีตเราจะใช้ Plugins OpenLayers ค่อนข้างบ่อย แต่เราจะพบปัญหาต่างๆ ปัจจุบันนี้ Plugin QuickMapServices สำหรับ QGIS สามารถเป็นตัวช่วยในการเข้า BaseMaps แทบทุกชนิด เช่น XYZ tiles, TMS, WMS, WMTS, ESRI ArcGIS เป็นต้น ที่เราสามารถเรียกใช้ได้ง่าย สะดวก สบาย และเราสามารถเลือกใช้ BaseMaps ตามที่เราต้องการใช้งานได้ นอกจากนั่นเราสามารถดาวโหลดเวอร์ชั่นล่าสุดได้จาก NextGIS github ที่เป็นบริษัท GIS จาก Moscow ที่มีปลั๊กอินจำนวนมากสำหรับ QGIS

1.คลิกเลือกแถบเมนู Plugins >> Manage and Install Plugins >> ค้นหา QuickMapServices >> Install plugin

P_1

2.เราสามารถเรียกใช้งานได้ที่ Add Layer >> QuickMapServices >>เลือกใช้งานตามความต้องการ

P_2

3.ในที่นี้เราเลือกใช้งาน OSM >> OpenTOPOMap >> คลิกเลือก

P_3

4.เราจะได้ BaseMap มาใช้งานได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็ว ดังรูป

P_4

Cr. Sasithon Chatsudarat (นิสิตฝึกงาน ม.นเรศวร)

Layout Map in QGIS

แผนที่สามารถบอกรายละเอียดต่าง ๆ ได้ดีกว่าข้อความ โดยแผนที่สามารถอธิบายถึงข้อมูลหลาย ๆ อย่างให้เราเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น เช่น ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ซึ่งแผนที่สามารถตีความได้เข้าใจได้ง่ายกว่าการเขียนข้อมูลสรุป ดังนั้นแผนที่จึงมีประโยชน์และมีบทบาทมากในการสร้างรายงานต่าง ๆ โปรแกรม QGIS จึงเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่สามารถสร้างแผนที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและที่สำคัญเป็น Open Source

 

วิธีการ

1. Project >> New Print Layout

M27-lm

2. ตั้งชื่องานแล้วคลิก OK

M28-lm

3.  หน้าต่างเพื่อสำหรับการสร้างแผนที่

M29-lm

4. คลิก Add a new Label to the layout เพื่อตั้งชื่อแผนที่

M30-lm

5.  คลิก Add a new Map to the layout

M31-lm

6.  คลิก Add a new Legend to the layout

M32-lm

7.  คลิก Add a new Scale Bar to the layout

M33-lm

8.  คลิก Add a new Arrow to the layout

M34-lm

9.  ตั้งค่าใส่ Grid ให้แผนที่

M35-lm

10.  เมื่อต้องการ Export แผนที่คลิก Layout > Export as Image > เลือกพื้นที่จัดเก็บ > Save

M36-lm

11.  แสดงผลลัพธ์การ Layout Map

M37-lm

Cr. Mintra Rodchan (นิสิตฝึกงาน ม.นเรศวร)

Advanced Digitizing in QGIS

คนส่วนใหญ่มักใช้งานโปรแกรม QGIS หรับการ Digitizing  ข้อมูล GIS แต่บางครั้งการสร้างข้อมูล Digitizing  แบบปกติไม่ตอบโจทย์การใช้งานขั้นสูงจึงต้องใช้การ Advanced Digitizing เพราะเครื่องมือนี้จะสามารถกำหนด จุดของข้อมูล x, กำหนด จุดของข้อมูล y, ระยะห่างจากจุดและมุมของการสร้างข้อมูลได้ ทำให้การสร้างข้อมูล GIS มีความถูกต้องมากขึ้นและประหยัดระยะเวลาในการสร้างข้อมูลได้

วิธีการ

1.  สร้างชั้นข้อมูลที่ต้องการเป็น Line Polygon

2.  คลิกขวาเลือก Advanced Digitizing

3.  เปิดข้อมูล Raster ที่ต้องการ Digitizing

M21-ad

4.  เลือกชั้นข้อมูลแล้วคลิก Toggle Editing

M22-ad

5.  จากนั้นคลิก Edit Line Feature เพื่อ Digitizing

M23-ad

6.  d —ระยะห่างจากจุด

a —ค่ามุม

x —ค่าพิกัด

y —ค่าพิกัด

M24-ad

7.  แสดงผลลัพธ์การ Digitizing

M25-ad

Cr. Mintra Rodchan (นิสิตฝึกงาน ม.นเรศวร)

การคำนวณ ไร่-งาน-ตารางวา ในโปรแกรม QGIS

การคำนวณพื้นที่ใน QGIS ปกติจะทำกันอยู่ 2 หน่วยคือ ตารางเมตร หรือ ไร่ ซึ่งตัวเลขที่เป็นหน่วยเหล่านี้สามารถนำเอาไปใช้งานได้เลย แต่ถ้าเราต้องการแปลงเป็นหน่วยย่อยๆ ของไร่ ลงไปอีก ได้แก่ งาน และ ตารางวา ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากในงานทางด้านที่ดิน โดยหน่วยของการแปลงมีดังนี้

1,600 ตารางเมตร = 1 ไร่
400 ตารางเมตร = 1 งาน
4 ตารางเมตร = 1 ตารางวา

แต่ก่อนที่เราจะแปลงหน่วยเราต้องแปลงข้อมูลให้อยู่ในระบบพิกัด Universal Transverse Mercator coordinate system (UTM) ก่อน เพราะระบบพิกัดนี้จะมีหน่วย “เมตร” และเราสามารถแปลงหน่วย ไร่-งาน-ตารางวา ได้ตามสูตรดังนี้

หาจำนวนไร่ (Rai)

Excel: INT(area/1600)

ArcGIS: math.floor ( !area!/1600 )

QGIS: floor( “area” /1600 )

หาจำนวนงาน (Ngan)

Excel: =INT(((area /1600)-Rai)*4)

ArcGIS: math.floor(((!area! /1600) — !Rai!)*4)

QGIS: floor((($area/1600)-“Rai”)*4)

หาจำนวนตารางวา(sqWa)

Excel: =(area /4)-(( Rai *400)+( Ngan *100))

ArcGIS: (!area! /4 ) — (( !Rai!*400) + (!Ngan!*100))

QGIS: ((((“area” /1600)- “Rai” )*4)- “Ngan” )*100

1.ใช้เครื่องมือ Field Calculator >>ตั้งชื่อ Colum ใหม่ที่เราจะเก็บข้อมูล>>จากนั้นใส่สูตรการหาจำนวนตารางวามาใส่>>OK

Cal_12. หลังจากที่เราทำการคำนวณเรียบร้อยแล้ว จะได้พื้นที่ที่มีหน่วยเป็น ไร่-งาน-ตารางวา จากชั้นข้อมูล

Cal_23.แสดงขนาดพื้นที่เป็นไร่-งาน-ตารางวา

Cal_3Cr. Sasithon Chatsudarat (นิสิตฝึกงาน ม.นเรศวร)

Using MMQGIS plugin to create hub Distance

การใช้เครื่องมือ Hub Distance จาก MMQGIS plugin ใน QGIS 3.0.0 เป็นเครื่องมือที่จะช่วยเราหา “ระยะทางที่ใกล้ที่สุด” จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เครื่องมือนี้จะช่วยในการตัดสินใจหรือเลือกใช้แหล่งบริการต่างๆในระยะทางที่ใกล้ที่สุดแต่จากคิดจากระยะทางในแนวกระจัดที่ใกล้มากที่สุดของข้อมูลทั้งสองจุด ข้อมูลที่เราใช้ต้องเลือกข้อมูลที่มีพิกัดเดียวกัน เพราะถ้าเราใช้ข้อมูลที่พิกัดต่างกันจะได้ผลที่ไม่ถูกต้องหรือผิดเพี้ยนไปจากข้อมูล

1.เปิดข้อมูลเวกเตอร์ Layer>>Add Layer>>Add Vector Layer>เปิดชั้นข้อมูลที่เราต้องการวิเคราะห์ขึ้นมา โดยเราใช้ข้อมูลจุดที่อยู่อาศัย(Building)กับร้านค้าสะดวกซื้อ(7-11)

HubDis_1
2.ทำการติดตั้ง MMQGIS plugin โดย Plugin>>Manage and install Plugins>>กด Install Plugins

HubDis_2
3.จากนั้นเราจะใช้เครื่องมือ  MMQGIS plugins>>Create>>Hub Distance จากนั่นเราทำการกำหนดข้อมูลที่เราจะวิเคราะห์โดยที่อยู่อาศัยของเรา(Building) >>ร้านค้าสะดวกซื้อ(7-11) >>เลือก Id โดยที่ทั้งสองข้อมูลจะต้องมี Attribute นี้>>Output Shape เราสามารถเลือกได้เป็นทั้งข้อมูล Point และ Line >> เราเลือกหน่อยเป็น Meters>>เลือกที่จัดเก็บไฟล์>>OK

HubDis_3
4.เราจะได้ผลลัพธ์คือ ที่อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้กับร้านค้าสะดวกซื้อมากที่สุด โดยคำนวณระยะทางจากจุดกึ่งกลางรัศมี
HubDis_4
5.จากการวิเคราะห์สามารถมองได้ 2 มุมมองคือ ผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการ ในส่วนของผู้ประกอบการอาจจะมองเรื่องของ Location ของร้านค้าสะดวกซื้อกับตำแหน่งของสถานที่สำคัญ ถ้ามีระยะห่างที่เหมาะสมจะส่งผลให้มียอดขายสินค้ามากขึ้น  หรืออาจจะจมองในเรื่องของประจากชนจะเดินทางไกลเพียงใดกว่าจะมาถึงร้านสะดวกซื้อ จากภาพผลลัพธ์แสดงการหาร้านค้าสะดวกซื้อที่ใกล้เรามากที่สุดในการที่เราจะเลือกใช้บริการหรือประกอบการตัดสิน แต่การตัดสินใจจากการวิเคราะห์นี้อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการเลือกใช้บริการ เพราะการตัดสินใจใช้บริการมีปัจจัยอื่น ๆ เกี่ยวข้องด้วย

HubDis_5Cr. Sasithon Chatsudarat (นิสิตฝึกงาน ม.นเรศวร)

Geopackage in QGIS

Geopackage เป็นไฟล์ GIS ประเภทหนึ่งที่มีอยู่ในโปรแกรม QGIS เวอร์ชัน 3 ลักษณะของไฟล์ก็เหมือนกับ Geodatabase ของโปรแกรม Arcgis ซึ่งเราสามารถสร้างข้อมูล Point, Line, Polygon ไปเก็บไว้เป็นหนึ่ง Geopackage ได้ทำให้การจัดการข้อมูลให้ง่ายยิ่งขึ้น

วิธีการ

1.  คลิกเลือก Geopackage คลิกขวา Create Database ตั้งชื่อ และเลือกที่จัดเก็บจะได้ไฟล์ 3 นามสกุลคือ .gpkg .gpkg-wal .gpkg-shm

M17-gpkg2.  ตั้งชื่อ Table Name เลือกประเภทของข้อมูล เลือกระบบพิกัด และเพิ่ม Attribute ลงไปในชั้นข้อมูล จากนั้นคลิก OK

M18-gpkg3.  แสดงผลการสร้างชั้นข้อมูลด้วย Point Line Polygon

M19-gpkg4.  สามารถนำไปเปิดกับโปรแกรม ArcGIS

M20-gpkg

Cr. Mintra Rodchan (นิสิตฝึกงาน ม.นเรศวร)

Model Modeler Density in QGIS

การวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะเดียวกันซ้ำ ๆ หลายๆ ครั้ง ในโปรแกรม QGIS เราจะนิยมเขียน Processing Modeler ไว้สำหรับการวิเคราะห์ผลให้รวดเร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น หาความหนาแน่นต่างๆ เช่น ความหนาแน่นของจำนวนประชากร ความหนาแน่นของห้างสรรพสินค้าสามารถทำได้จากเครื่องมือที่ชื่อว่า Density หรือในโปรแกรม QGIS มีชื่อว่า Heatmap (Kernel Density Estimation)

วิธีการ

1.  เข้าไปในโปรแกรม QGIS

2.  ใช้คำสั่งที่มีชื่อว่า Processing > Graphical Modeler

M5-model

3.  หลังจากคลิกเลือกคำสั่งแล้วจะมีหน้าต่างสำหรับเขียน และแก้ไข Model

M6-model

4.  คลิกที่ Input > Vector layer ตั้งชื่อ และกำหนดประเภทชั้นข้อมูล จากนั้นคลิก OK

M7-model

5.  การใช้คำสั่งให้คลิกเลือก Algorithms > Heatmap (Kernel Density Estimation)

M8-model

 

M9-model

6.  กำหนด Radius และ Output raster size และเลือกที่เก็บผลลัพธ์ จากนั้นคลิก OK

M10-model

7.  กด  Run model  เพื่อนำข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ จากนั้นคลิก Run

M12-model

8.  แสดงผลลัพธ์การวิเคราะห์ข้อมูลโดยเครื่องมือ Density ผ่าน Processing Modeler

M13-model

 

M14-model

9.  เมื่อต้องการจัดเก็บ Processing Modeler เพื่อใช้งานในครั้งต่อไปทำได้โดยกดตั้งชื่อ Name และ Group จากนั้นคลิก Save

M15-model

10.  เมื่อต้องการเรียกใช้หรือแก้ไขทำได้โดยคลิก Processing > Toolbox > Model > Add Model from File > เลือก Model

M16-model

Cr. Mintra Rodchan (นิสิตฝึกงาน ม.นเรศวร)