All posts tagged QGIS

Using MMQGIS plugin to create hub Distance

การใช้เครื่องมือ Hub Distance จาก MMQGIS plugin ใน QGIS 3.0.0 เป็นเครื่องมือที่จะช่วยเราหา “ระยะทางที่ใกล้ที่สุด” จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เครื่องมือนี้จะช่วยในการตัดสินใจหรือเลือกใช้แหล่งบริการต่างๆในระยะทางที่ใกล้ที่สุดแต่จากคิดจากระยะทางในแนวกระจัดที่ใกล้มากที่สุดของข้อมูลทั้งสองจุด ข้อมูลที่เราใช้ต้องเลือกข้อมูลที่มีพิกัดเดียวกัน เพราะถ้าเราใช้ข้อมูลที่พิกัดต่างกันจะได้ผลที่ไม่ถูกต้องหรือผิดเพี้ยนไปจากข้อมูล

1.เปิดข้อมูลเวกเตอร์ Layer>>Add Layer>>Add Vector Layer>เปิดชั้นข้อมูลที่เราต้องการวิเคราะห์ขึ้นมา โดยเราใช้ข้อมูลจุดที่อยู่อาศัย(Building)กับร้านค้าสะดวกซื้อ(7-11)

HubDis_1
2.ทำการติดตั้ง MMQGIS plugin โดย Plugin>>Manage and install Plugins>>กด Install Plugins

HubDis_2
3.จากนั้นเราจะใช้เครื่องมือ  MMQGIS plugins>>Create>>Hub Distance จากนั่นเราทำการกำหนดข้อมูลที่เราจะวิเคราะห์โดยที่อยู่อาศัยของเรา(Building) >>ร้านค้าสะดวกซื้อ(7-11) >>เลือก Id โดยที่ทั้งสองข้อมูลจะต้องมี Attribute นี้>>Output Shape เราสามารถเลือกได้เป็นทั้งข้อมูล Point และ Line >> เราเลือกหน่อยเป็น Meters>>เลือกที่จัดเก็บไฟล์>>OK

HubDis_3
4.เราจะได้ผลลัพธ์คือ ที่อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้กับร้านค้าสะดวกซื้อมากที่สุด โดยคำนวณระยะทางจากจุดกึ่งกลางรัศมี
HubDis_4
5.จากการวิเคราะห์สามารถมองได้ 2 มุมมองคือ ผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการ ในส่วนของผู้ประกอบการอาจจะมองเรื่องของ Location ของร้านค้าสะดวกซื้อกับตำแหน่งของสถานที่สำคัญ ถ้ามีระยะห่างที่เหมาะสมจะส่งผลให้มียอดขายสินค้ามากขึ้น  หรืออาจจะจมองในเรื่องของประจากชนจะเดินทางไกลเพียงใดกว่าจะมาถึงร้านสะดวกซื้อ จากภาพผลลัพธ์แสดงการหาร้านค้าสะดวกซื้อที่ใกล้เรามากที่สุดในการที่เราจะเลือกใช้บริการหรือประกอบการตัดสิน แต่การตัดสินใจจากการวิเคราะห์นี้อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการเลือกใช้บริการ เพราะการตัดสินใจใช้บริการมีปัจจัยอื่น ๆ เกี่ยวข้องด้วย

HubDis_5Cr. Sasithon Chatsudarat (นิสิตฝึกงาน ม.นเรศวร)

Loading a raster into a PostgreSQL

วิธีการนำเข้าข้อมูล Raster ในโปรแกรม PostgreSQL

การนำเข้าไฟล์ข้อมูล Vector สามารถทำได้โดยใช้ฟังก์ชั่นของโปรแกรม PostGIS หรือบางคนที่ใช้โปรแกรม QGIS ก็สามารถนำไฟล์ Vector เข้าสู่ฐานข้อมูลได้เช่นกัน แต่ในกรณีที่เป็นไฟล์ Raster  จะใช้ Raster2pgsq ซึ่่งสามารถนำไฟล์ราสเตอร์ เช่น  ภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูลความสูงเชิงเลข(DEM) เข้าไปในฐานข้อมูลได้

วิธีการ

1. เข้าไปที่โปรแกรม OSGeo4W Shell

2. ต้องเข้าไปที่ไฟล์ Raster2pgsql  โดยใช้คำสั่ง cd C:\Program Files\PostgreSQL\9.4\bin

3. ให้รันคำสั่ง  Raster2pgsql.exe สำหรับเรียกใช้โปรแกรม Raster2pgsql

4. รันคำสั่ง อีกชุดสำหรับการนำเข้าข้อมูล Raster  -I -C -M D:\PWA\LAB\DEM\DEM.tif -s 4236 -F -t 50×50 public.DEM12 | psql -U postgres -d postgres -h localhost -p 8082

2017-3 (2)

5. เมื่อนำเข้าข้อมูลเสร็จเรียบร้อยให้ตรวจสอบข้อมูลในฐานข้อมูล โดยการ Select * from “Table Name”

2017_5

6. เชื่อมต่อฐานข้อมูล PostgreSQL กับ โปรม QGIS

2017_1

7. แสดงผลข้อมูล Raster

2017_2

 

Connect PostgreSQL to QGIS

ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ PostgreSQL สามารถแก้ไขข้อมูล และอัพเดทข้อมูลต่างๆ ใน Attribute  รวมถึงสามารถเพิ่ม Feature (Point, Line, Polygon) ให้กับข้อมูลได้อีกด้วย ทำให้ผู้ใช้งานไม่เสียเวลาในการอัพเดทชั้นข้อมูลและเข้าไปในฐานข้อมูลเชิงพื้นที่อีกครั้ง และที่สำคัญข้อมูลที่ได้จะมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา สามารถดูตัวอย่างการจัดการฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม QGIS จากวีดีโอนี้

ฟังก์ชันใหม่สำหรับผู้ใช้งาน QGIS

ก่อนที่ QGIS จะปล่อยเวอร์ชัน 3.0 มาให้ใช้กัน มาลองดูที่เวอร์ชัน 2.18.3 (เวอร์ชันที่ผมใช้อยู่ปัจจุบัน ณ วันที่ 3 มีนาคม 2560) ตอนนี้หน้าเว็บไซด์ http://www.qgis.org/en/site/forusers/download.html  เป็นเวอร์ชัน 2.18.4  มาลองดูกันดีกว่ามีอะไรใหม่ๆ มาให้ลองเล่นกัน

2017-011.Layer Styling

ฟังก์ชันนี้น่าสนใจมาก  น่าสนใจตรงที่เวลาเราเลือก Style ให้กับชั้นข้อมูล มีให้แสดงผลแบบ Live update นั้นหมายความว่า เวลาเราเลือก Style แบบไหนหน้าแสดงผลข้อมูลก็จะเปลี่ยนตามที่เราเลือกทันที่

2017-022. Edit Styles Colors

ฟังก์ชันนี้ใช้สำหรับเปลียนสีการแสดงผลข้อมูล การทำงานเมื่อเลือกการเปลี่ยนสี เครื่องจะมีอาการหน่วงนิดหน่อย แต่ก็พอรับได้ ประโยชน์ของฟังก์ชันนี้ คือ เปเลียนสีได้เร็วขึ้น และมีสีให้เลือกหลายหลายตามที่ต้องการ

2017-02-1

3. Node Tool

ฟังก์ชันนี้มีอะไรใหม่ให้เราเล่น ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่ดีมากครับสำหรับตัวผมและคิดว่าหลายๆ คนคงคิดเหมือนกัน เพราะตอนแก้ไขข้อมูลมี Vertex Editor ขึ้นมาให้ ในเวอร์ชั่นเก่า ๆ ไม่มีแสดงขึ้นมาให้ ฟังก์ชันนี้ใช้งานง่ายมาก เพียงแค่คุณพิมพ์เลขพิกัดลงไปได้เลย แล้วตำแหน่งของข้อมูลก็จะขยับไปยังตำแหน่งพิกัดนั้นทันที ช่วยให้สะดวกและข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น

2017-03

4. Create Conditional Format Rules

ฟังก์ชันนี้ขอพูดแบบให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า การเลือกแสดงผลข้อมูลตามแบบตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ ฟังก์ชันนี้ดูดีมาก สามารถเลือกข้อมูลแล้วสั่งให้ ไฮไลท์ ข้อมูลตามสีต่าง ๆ ที่เรากำหนดให้กับข้อมูล และที่สำคัญสามารถ เพิ่ม Rule ให้แสดงเป็นสีใหม่ได้อีกด้วย

2017-04

 

5. Add ArcGisMapServer Layer From a Server

ฟังก์ชันนี้คือการเรียกใช้บริการข้อมูลจากฝั่งของ ESRI service ไม่ว่าจะเป็น Server ข้อมูลแผนที่ฐาน (base map) หรือข้อมูล Service อื่นๆ ของ ESRI ทำให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกในการใช้โปรแกรมมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นเรื่องสำคัญสำหรับนัก GIS เลยก็ได้ สำหรับการนำข้อมูลที่มีอยู่ในใช้ในโปรแกรมต่าง ๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการแก้ไข้หรือปรับเปลี่ยนข้อมูล

2017-05

2017-05-1

QGIS เวอร์ใหม่ๆ ที่ออกมาเร่มมีฟังก์ชันใหม่ ๆ ให้ติดตามมากขึ้น เห็นแบบนี้แล้วอยากใช้โปรแกรม QGIS เวอร์ชัน 3.0 ถ้าเวอร์ชัน3.0 มาเมื่อไหร่ผมจะมาสรุปฟังก์ชันดีๆให้ติดตามกันนะครับ

 

Reclassify Raster Data Using QGIS

Reclassify ทางด้าน GIS  การ Reclassify หมายถึง การจัดกลุ่มประเภทของข้อมูลใหม่  โดยใช้ค่าของข้อมูลเดิมที่มีอยู่มาใช้ในการจัดประเภทของข้อมูลตามที่ต้องการ เช่น ต้องการแยกค่าความชันออกเป็นช่วงของความชันจาก 0 – 15 ให้อยู่ในกลุ่มข้อมูลที่ 1 ช่วงความชัน มากกว่า 15 – 30 ให้อยู่ในกลุ่มข้อมูลที่ 2 ช่วงความชัน มากกว่า 30 – 60 ให้อยู่ในกลุ่มข้อมูลที่ 3 ช่วงความชัน มากกว่า 60 ให้อยู่ในกลุ่มข้อมูล ที่  4 หรือให้ค่าที่กลับกัน (invert) ก็ได้ขึ้นอยู่กับผู้วิเคราะห์  ประโยชน์ของการ Reclassify ข้อมูลที่ผ่านการจัดกลุ่มใหม่แล้วสามรถนำไปใช้ในการวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะ สม  หรือ นำไปใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติต่างๆได้

 

QGIS Create DEM

Digital Elevation Model (DEM)
แบบจำลองระดับสูงเชิงเลข ได้จากการรังวัดความสูงหรือจุดระดับความสูงที่เป็นตัวแทนของภูมิประเทศ
มีการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล และการนำเสนอแบบจำลองในรูปแบบต่าง ๆ
ชั้นข้อมูลความสูงภูมิประเทศเชิงเลขนี้ จะอธิบายสมบัติเฉพาะที่สำคัญของชั้นข้อมูลความสูงภูมิประเทศเชิงเลข

วิธีการสร้าง DEM โดยใช้โปรแกรม QGIS
Create DEM

ข้อมูลที่ใช้
1.Point Z Value
2. Boundary
q1
ขั้นตอน
1. Add Point Layer
2. Create DEM Using QGIS  Pluing SAGA (Interpolate (Natural neighbor))
3. Save As to GeoTiff

q2

q3

Reclassify Rater Data In QGIS

Reclassify ทางด้าน GIS  การ Reclassify หมายถึง การจัดกลุ่มประเภทของข้อมูลใหม่  โดยใช้ค่าของข้อมูลเดิมที่มีอยู่มาใช้ในการจัดประเภทของข้อมูลตามที่ต้องการ เช่น ต้องการแยกค่าความชันออกเป็นช่วงของความชันจาก 0 – 15 ให้อยู่ในกลุ่มข้อมูลที่ 1 ช่วงความชัน มากกว่า 15 – 30 ให้อยู่ในกลุ่มข้อมูลที่ 2 ช่วงความชัน มากกว่า 30 – 60 ให้อยู่ในกลุ่มข้อมูลที่ 3 ช่วงความชัน มากกว่า 60 ให้อยู่ในกลุ่มข้อมูล ที่  4 หรือให้ค่าที่กลับกัน (invert) ก็ได้ขึ้นอยู่กับผู้วิเคราะห์  ประโยชน์ของการ Reclassify ข้อมูลที่ผ่านการจัดกลุ่มใหม่แล้วสามรถนำไปใช้ในการวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสม  หรือ นำไปใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติต่างๆได้

classify1 classify2

 

Connect PostGIS to QGIS

ระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่

ระบบที่จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ ซึ่งข้อมูลจะถูกจัดเก็บแยกเป็นตารางๆ ตามประเภทของข้อมูล โดยข้อมูลที่ถูกจัดเก็บนี้จะต้องมีค่าพิกัดอ้างอิงของข้อมูลด้วย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถแบ่งลักษณะของข้อมูลเชิงพื้นที่เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

  1. จุด (Point) เป็นลักษณะที่ใช้แสดงตำแหน่งของพื้นที่ เช่น ที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ตำแหน่งหมู่บ้าน สถานพยาบาล เป็นต้น
  2. เส้น (Line) เป็นลักษณะที่ใช้แสดงลักษณะเชื่อมต่อของพื้นที่โดยทั่วไปจะแสดงเป็นกลุ่มของเส้น (Polyline) เช่น ทางน้ำ ทางถนน แนวท่อน้ำ สายไฟฟ้า เป็นต้น
  3. รูปปิดพื้นที่ (Polygon) เป็นลักษณะที่ใช้แสดงพื้นที่หรือขอบเขต เช่น พื้นที่จังหวัด พื้นที่ทะเลสาบ พื้นที่แปลงปลูกป่า พื่นที่ป่าไม้ เป็นต้น

 

เชื่อม PostgreSQL กับโปรแกรม QGIS

การเชื่อมต่อฐานข้อมูลกับโปรแกรม QGIS เมื่อเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลเชิงพื้นที่แล้ว สามารถนำข้อมูลจากฐานข้อมูลเชิงพื้นที่มาแก้ไข และอัพเดทข้อมูลต่างๆ ในตาราง Attribute ได้ ทำให้ผู้ใช้งานไม่เสียเวลาในการอัพเดทชั้นข้อมูลเข้าไปในฐานข้อมูลเชิงพื้นที่อีก และที่สำคัญข้อมูลที่ได้จะมความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา  การเชื่อมต่อ ใช้คำสั่ง Add PostGIS Table

Posgis1

Time manager QGIS

วันนี้มีโอกาสได้ลองเล่นเครื่องมือ Time manager  นั่งเล่นไปเรื่อยๆ และลองศึกษาการทำงานของเครื่องมือรู้สึกมีความประทับใจระดับหนึ่งถึงมากเลย  ตอนเล่นไปเจอบั๊กบ้างเป็นเรื่องปกติ แต่พอเล่นไปสักพักก็เรื่องชินเครื่องมือนี้ทำงานได้ดีเลยครับ  จากการลองศึกษาดู โดยกำหนดเงื่อนไขการเกิดโรคระบาดและการดูการเปลี่ยนแปลงของโรคระบาดตามเงื่อนไขของเดือนที่เกิดโรคระบาย ผลลัพธ์ออกมาใช้ได้เลย มาดูผลที่ได้กัน

TM312345

TM3123456

 

ต่อมาลองเล่นอีกแบบดูบ้าง  กำหนดการเดินทางของการขนส่งสิ่งของหรือกำหนดการเดินทางโดยใช้เส้นทางต่างๆต้องบอกก่อนนะครับว่าต้องใช้เครื่องมืออื่นช่วนในการวิเคราะห์ข้อมูลก่อน เพราะเครื่องนี้ใช้สำหรับการแสดงผลข้อมูลตามเงื่อนไขของเวลาเท่านั้นมาดูผลลัพธ์ที่ได้กัน

TM12345

TM2123456

 

โปรแกรม QGIS

โปรแกรม QGIS

หลายๆคนให้ความสนใจเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม Quantum GIS หรือ QGIS  วันนี้เลยนำความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมมาเล่าสู่กันฟัง

จากประสบการณ์อันน้อยนิด ประมาณ 5 ปี กับการใช้โปรแกรมนี้  ตอนนั้นที่ใช้งานเป็นเวอร์ชั้น 1.80 ตอนนี้อยู่ที่เวอร์ชั่น 2.10.1 (5/8/2558)

จากตอนนั้นถึงตอนนี้โปรแกรมพัฒนาได้เร็วมาและที่สำคัญสามาถดาวน์โหลดมาใช้งานกันได้ฟรี ที่ https://www.qgis.org/en/site/forusers/download.html

1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโปรแกรม QGIS

Quantum GIS หรือที่รู้จักกันทั่วๆไปว่า ‘QGIS’ เป็นโปรแกรม Desktop GIS ประเภทหนึ่งที่รองรับทั้งระบบปฏิบัติการ Windows ระบบปฏิบัติการ Mac OS X และ ระบบปฏิบัติการ Linux ประสิทธิภาพในใช้โปรแกรมจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่จัดอยู่ในกลุ่มของซอฟต์แวร์รหัสเปิด
(Free and Open Source Software: FOSS) จัดเป็นชอฟแวร์ที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพดี
ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งแบบเวกเตอร์ และแบบราสเตอร์ ส่วนการใช้งาน Interface ใช้งานง่าย ไม่ว่าจะเป็นการเรียกใช้ข้อมูลภาพ ข้อมูลตาราง การแสดงผลตาราง ตลอดจนสามารถสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลรูปแบบแผนที่ได้

2. การติดตั้งโปรแกรม QGIS

การติดตั้งโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการเข้าไปดาวน์โหลดชอฟแวร์ที่เว็บไซด์ https://www.qgis.org/en/site/forusers/download.html เลือกระบบปฏิบัติการที่ต้องการและเลือกเวอร์ชั่นของชอฟแวร์ที่ต้องการ ทำการ ดาวน์โหลด และติดตั้งตามขั้นตอนต่อไปนี้

2.1 ต้องเลือกตัวโปรแกรมให้ตรงกับระบบปฏิบัติการของแต่ละเครื่อง เช่น เครื่องระบบปฏิบัติการ
วินโด 64 บิต ต้องเลือก โปรแกกรม QGIS สำหรับระบบปฏิบัติการวินโด 64 บิต

3. ลักษณะทั่วไปของโปรแกรม

bank

  1. Menu Bar คือ แถบเมนูเป็นที่เก็บคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรม การเรียกใช้งานแถบเมนูทำได้โดยการเลื่อนเมาส์ไปตามรายการคำสั่ง เมื่อต้องการใช้ คำสั่งใด ๆ ก็ให้คลิกเมาส์ที่คสั่งนั้น
  2. Tools Bar คือ แถบเครื่องมือ เป็นสัญลักษณ์ (Icon) ที่ใช้แทนคำสั่งต่าง ๆ
  3. Layers คือ เป็นการแสดงให้เห็นแต่ละประเภทของชั้นข้อมูลตามสัญลักษณ์
  4. Overview คือ การแสดงภาพรวมทั้งหมดของแผนที่ (Map Display)
  5. Map Display คือ การแสดงแผนที่ ที่เราได้ทำการนำเข้าข้อมูลมาในแต่ละประเภท
  6. Map Coordinate at mouse curser position คือ แสดงค่าพิกัดบนแผนที่ เมื่อเราเลื่อนเมาส์ไปที่ในบริเวณ Map Display
  7. Current Map Scale คือ มาตราส่วนแผนที่
  8. Project Properties คือ การกำหนดคุณสมบัติของเส้นโครงแผนที่