All posts by gisadmin

การจำลองข้อมูลลักษณะภูมิประเทศจาก DEM

การจำลองข้อมูลลักษณะภูมิประเทศจาก DEM

               Digital Elevation Model (DEM) แบบจำลองระดับสูงเชิงเลข ได้จากการรังวัดความสูงหรือจุดระดับความสูงที่เป็นตัวแทนของภูมิประเทศ มีการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล และการนำเสนอแบบจำลองในรูปแบบต่างๆ มาตรฐานข้อกำหนดสมบัติเฉพาะของข้อมูล FGDS ชั้นข้อมูลความสูงภูมิประเทศเชิงเลขฉบับนี้ จะอธิบายสมบัติเฉพาะที่สำคัญของชั้นข้อมูลความสูงภูมิประเทศเชิงเลข โดยเฉพาะรายละเอียดรายการและนิยามที่ชัดเจนของข้อมูลภูมิศาสตร์ และเกณฑ์คุณภาพของข้อมูล ในขณะที่ข้อกำหนดวิธีการในการสำรวจจัดทำข้อมูล

การประมาณค่าเชิงพื้นที่ (Interpolation)

การประมาณค่าเชิงพื้นที่ (Spatial Interpolation)

หมายถึงกระบวนการของการใช้ข้อมูลจุดที่ทราบค่า ไปใช้ในการประมาณค่าพื้นที่ที่ยังไม่ทราบของจุด (พื้นที่) อื่นๆ

ข้อมูลที่นิยมใช้ในการประมาณค่าเชิงพื้นที่
1. ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา (Meteorological Data) เช่น นํ้าฝน อุณหภูมิ และการระเหย
2. ภูมิประเทศ (Topography) เช่น ความสูงตํ่า
3. การสะสมของหิมะ (Snow Accumulation)
4. ระดับนํ้า (Water Table)
5. ความหนาแน่นประชากร (Population Density)

จุดควบคุม (Control Points)
จุดควบคุม หมายถึงจุดที่ทราบค่า สำหรับการนำค่าเหล่านั้นมาคำนวณเพื่อประมาณค่าจุดพื้นที่ อื่นๆ ที่ยังไม่ทราบค่า จำนวนและการกระจาย ของจุดควบคุมมีผลต่อความถูกต้องของการประมาณค่าสมมติฐานของการประมาณค่า คือจุดควบคุมที่อยู่ใกล้มีอิทธิพลต่อค่าที่ถูกประมาณมากกว่าจุดควบคุมที่อยู่ไกล บริเวณที่มีจำนวนข้อมูลที่ทราบน้อย หรือไม่มีข้อมูลที่ทราบค่า (data-poor area) มักมีปัญหาต่อการประมาณค่าเชิงพื้นที่

ตัวอย่างการใช้งานการประมาณค่าเชิงพื้นที่

1. Density Estimation
เป็นการประมาณค่าโดยวัดความหนาแน่นภาย ในกริด หนึ่งๆ จากการกระจายของจุดและค่าที่ทราบ Cell Density = Total point value / Cell size

2

2. Inverse Distance Weight (IDW)
เป็นการประมาณค่าบนสมมติฐานที่ว่าจุดที่ยังไม่ทราบค่านั้นควรมีอิทธิพลจากจุดควบคุมที่อยู่ใกล้มากกว่าจุดควบคุมที่อยู่ไกล ระดับของอิทธิพล (Degree of Influence, or the Weight) แสดงในรูปผลกลับ (Inverse) ของระยะทางระหว่างจุด ซึ่งเพิ่มขึ้นตามค่ากำลัง (Power Number) ค่ากำลังแสดงถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงค่าจากจุดใกล้ไปยังจุดไกล (ถ้าค่ากำลังเท่ากับ 1 แสดงว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงคงที่ระหว่างจุดต่างๆ เรียก Linear Interpolation

1

Hyperlink qgis

หลายๆ คนที่ออกสำรวจข้อมูลภาคสนาม และต้องการนำรูปจากการลงภาคสนามมาลงใน Attribute  ข้อมูล  หลายๆท่านยังไม่ทราบว่าทำได้หรือไม่เคยทำมาก่อน วันนี้ผมเลยมีวิธีการสร้างข้อมูลรูปภาพให้อยู่ใน Attribute ของ Shape file  มาดูวิธีการทำกันเลยครับ

 

1. ก่อนอื่นก็เตรียมข้อมูลให้พร้อมก่อนนะครับ (ข้อมูล Shape file กับ ข้อมูลภาพภาพอะไรก็ได้ไม่จำเป็นต้องมีพิกัดก็ใช้ได้นะ)

2. นำข้อมูลเข้ามาแล้วก็เปิดตาราง Attribute และเปิดการแก้ไขข้อมูล

3. ให้นำรูปไปไว้ไดร์ C ก่อนนะ เพื่อให้สะดวกสำหรับการเรียกใช้ข้อมูล

4. แก้ไขใน Attribute  แล้ว Save ข้อมูลตามปกติ ( C:\Bannk\011.GIF)

5. ยังไม่เสร็จกระบวนการนะครับ อย่างใจร้อนๆๆ ทำตามขั้นตอนนี้ก่อนนะ   Go to Actions ตั้งชื่อ Actions และกำหนดการค้นหาภาพจาก cmd /c เลือก Actions เป็น Photo

6. ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าจะสำเสร็จมีรูปภาพขึ้นมาหรือไม่  แต่ยังไงก็อย่างเพ่งตกใจไปนะ  มาดูกันก่อนแล้วกันว่าภาพขึ้นมาไม๊  เลือกตรง  identify เลือก Colum >> Actions ที่ตั้งชื่อไว้

7. ภาพก็ขึ้นมาตามข้อมูลที่เราสร้างไว้นะครับ แต่ถ้าภาพไม่ขึ้นมาก็ให้ลองกลับไปตรวจสอบข้อมูล ตามข้อ 3- 6 อีกครั้งหนึ่งนะครับ เพราะอาจจะมีพิมพ์ข้อความหรือผิดไปก็ได้  ขอให้ทุกคนสนุกกับการใช้งานโปรแกรมนะครับ

 

 

วิธีแก้ QGIS อ่านข้อมูลภาษาไทยไม่ได้

วิธีแก้ QGIS อ่านข้อมูลภาษาไทยไม่ได้

หลายๆคนเมื่อเริ่มต้นใช้งานโปรแกรม QGIS  จะเจอปัญหาเมื่อเปิดข้อมูลขึ้นมา ข้อมูลใน Attribute เป็นภาษาต่างดาว อ่านไม่ได้  อย่าเพ่งตกใจและลงโปรแกรมใหม่นะครับ มันมีวิธีการแก้ไขหลายวิธี วันนี้จะแนะนำวิธีที่ง่ายสะดวกและทุกคนสามารถทำได้  มาดูวิธีการแก้กัน

ข้อมูลที่เปิดมาตอนแรกจะมีลักษณะประมาณนี้

อย่าเพ่งตกใจนะครับ  ให้ทำตามนี้นะครับให้ปิดข้อมูล shape file ไปก่อนและเปิดข้อมูลขึ้นมาอีกครั้งดังนี้

เลือกที่ Encoding เป็น System

เปิดข้อมูลตามปกติ

เราก็จะได้ข้อมูลใน Attribute ที่เป็นภาษาไทยแล้ว  แต่เดี๋ยวก่อนนะของบางคนอาจจะยังอ่านภาษษไทยไม่ได้  เราก็ต้องไปเปลี่ยน Location เครื่องเป็น Thai ก่ออนนะครับ  โดยการเปลี่ยนก็ให้ไปเปลี่ยนที่ Region  >> Administrative >> Change system location >> เลือกเป็น Thai (Thailand)

การสร้างข้อมูล Shape file

ข้อมูลทางด้าน GIS แบ่งประเภทข้อมูลออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ข้อมูลเชิงตำแหน่ง (Spatial data) เป็นข้อมูลที่สามารถอ้างอิงกับตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ (Geo-referenced)
▪ตำแหน่ง (location)
▪รูปร่าง (shape)
ข้อมูลที่ไม่อยู่ในเชิงตาแหน่ง (Non-spatial data) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะต่างๆ ในพื้นที่นั้นๆ (Attribute data)
▪ข้อมูลคุณลักษณะของ spatial data

การได้มาซึ่งข้อมูล GIS

  1. ข้อมูลรูปภาพ
  2. ข้อมูลจากเครื่องGPS
  3. การสแกนข้อมูลเป็นไฟล์ดิจิตอล
  4. การแปลงข้อมูลจากไฟล์ข้อมูลราสเตอร์

การนำข้อมูล GIS ไปใช้งาน สามารถแยกได้ 2 แบบ ดังนี้

1. ข้อมูล Vector

1. จุด (Point) วัตถุเชิงพื้นที่ที่ไม่มี (ขนาด) พื้นที่
2. เส้น (Line) วัตถุเชิงพื้นที่ที่เกิดจากลาดับที่ต่อเนื่องกันของจุด โดยยังไม่มีความกว้าง
3. พื้นที่รูปปิด (Polygon) วัตถุเชิงพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ปิด หรือมีเส้นรอบรูป

2.ข้อมูล Raster
1. ข้อมูลอยู่ในรูปแบของภาพ (image)
2. หน่วยที่เล็กที่สุดเรียกว่า pixel
3. มีลักษณะรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม (Grid)

 

วิธีการสร้างข้อมูล Vector โดยใช้โปรแกรม QGIS

 

1. เปิดโปรแกรม QGIS  และซูมหาพื้นที่ที่ต้องการสร้างข้อมูลจุด  เส้น  และรูปปิดพื้นที่

2. การสร้าง Shape file  เลือกตรง New Shape file Layer

3. เลือกประเภทของ Shape file  และการสร้าง attribute ข้อมูล และเลือกที่สำหรับการเก็บข้อมูล

 

4. สร้าง Shape file ให้ครบถามที่ต้องการ ( Point Line Polygon )

5.การสร้าง line ที่ต้องการ เลือกพื้นที่ที่ต้องการสร้าง เลือกชั้นข้อมูล Line >> Toggle Editing   เลือกตรง  Add  Feature 

6. วาดเส้นบริเวณที่ต้องการ เมื่อวาดเสร็จให้คลิกขวาหนึ่งครั้ง  และใส่ข้อมูลใน Attribute ใส่เฉพาะข้อมูลที่เรารู้

7. เมื่อสร้างข้อมูล Shape file เสร็จ ให้คลิกตรง Toggle Editing หนึ่งครั้ง >> กด Save

8. ถ้าต้องการสร้างข้อมูล Point หรือ Polygon ให้ทำเหมือนกับการสร้างข้อมูล Line

9. ข้อมูล Shape file ที่ได้

 

การวิเคราะห์จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยบนท้องถนนโดยใช้คำสั่ง Buffer

การวิเคราะห์จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยบนท้องถนนโดยใช้คำสั่ง Buffer และ Clip ในโปรแกรม QGIS

ข้อมูลที่นำมาใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้เป็นเพียงข้อมูลที่สมมุติขึ้นเท่านั้น   เพื่อใช้เป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์และเป็นแนวทางเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะนี้ บริเวณอื่นๆ ได้

เป้าหมาย

ต้องการทราบบริเวณพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย  โดยคำนวณจากสถิติที่เกิดเกิดอุบัติเหตุที่ผ่านมา  เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการเฝ้าระวังอุบัติเหตุ

ข้อมูลที่ใช้

  1. สถิติที่ผ่านมาของการเกิดอุบัติเหตุริเวรจุดต่างๆ
  2. ข้อมูลเส้นถนนของพื้นที่ที่ศึกษา

ขั้นตอนการศึกษา

  1. รวบรวมข้อพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย และเลือกที่ที่มีอุบัติเหตุสะสมมากที่สุด
  2. สร้างข้อมูลพิกัด Xและ Y พื้นที่ที่มีอุบัติเหตุสะสมมากที่สุด
  3. สร้างข้อมู,จากไฟล์ Excel  ให้เป็น Shape file
  4. สร้าง Buffer  จากจุดข้อมูลแต่ละจุดโดยสร้าง Buffer 100 เมตร  300 เมตร 500 เมตร

ให้ Clip  ข้อมูลถนนกับข้อมูล Buffer
นำข้อมูลมาซ้อนทับกับข้อมูลเส้นถนน  โดยเปิดข้อมูล Vector ถนนขึ้นมา
ทดลองเปิดไฟล์ซ้อนทับกับ Base map
สรุปข้อมูลที่ได้
  1. พื้นที่เฝ้าระวังชั้นที่ 1 คือระยะทาง 100 เมตร จากจุดศูนย์กลางที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย
  2. พื้นที่เฝ้าระวังชั้นที่ 2 คือระยะทาง 300 เมตร จากจุดศูนย์กลางที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย
  3. พื้นที่เฝ้าระวังชั้นที่ 3 คือระยะทาง 500 เมตร จากจุดศูนย์กลางที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย